กันสาดหน้าบ้านแบบไหน ตอบโจทย์บ้านทาวน์โฮม

กันสาดหน้าบ้าน

ในปัจจุบันบ้านยุคใหม่ได้มีการออกแบบให้มีช่องแสงธรรมชาติเข้ามาภายในบ้านให้ได้มากที่สุด เพื่อประหยัดค่าไฟในแต่ละเดือน ทั้งยังช่วยให้บ้านดูปลอดโปร่ง มองทางไหนก็สบายตา ดังนั้น การตอเติมกันสาดหน้าบ้านจะช่วยปกป้องบ้านจากสภาพอากาศของประเทศไทยได้เป็นอย่างดี และป้องกันข้าวของเครื่องใช้ภายในบ้านไม่ให้เสียหายจากรังสี UV

บทความในวันนี้ D-Lite จะมาแนะนำการเลือกกันสาดให้เข้ากับสไตล์ของทาวน์โฮม และเผยตำแหน่งยอดนิยมในการติดตั้งกันสาด เพื่อให้ภาพรวมของบ้านดูสวยงาม รวมถึงเพิ่มพื้นที่ทำกิจกรรมให้กับครอบครัวในวันหยุดภายในบ้านทาวน์โฮมที่มีพื้นที่ใช้สอยจำกัด จะเป็นอย่างไร ไปดูกัน

กันสาดหน้าบ้านแบบไหน เข้ากับบ้านทาวน์โฮมที่สุด

อย่างที่ทราบกันดีว่าบ้านในประเทศไทยทุกหลังควรติดตั้งกันสาด เพื่อช่วยป้องกันแสงแดด และมลภาวะจากภายนอก ทั้งยังช่วยให้สมาชิกในครอบครัวอาศัยอยู่ในบ้านได้อย่างมีความสุข แต่ก่อนที่เจ้าของบ้านจะตัดสินใจต่อเติมบ้านให้ร่มรื่น ลองมาดูประเภทของกันสาดบ้านกันก่อน เพื่อเลือกกันสาดให้เข้ากับสไตล์บ้านทาวน์โฮมของคุณ จะมีอะไรบ้าง มาดูกัน

  • กันสาดผ้าใบ

กันสาดผ้าใบ ถือเป็นประเภทที่ได้รับความนิยมมายาวนาน เพราะทนทานต่อทุกสภาพอากาศได้ดี ใช้งานง่าย สามารถพับเก็บได้ตามความต้องการ ทั้งยังมีดีไซน์ให้เลือกหลากสไตล์ ทั้งกันสาดผ้าใบทรงปลายเหลี่ยม และทรงซุ้ม เหมาะกับบ้านทาวน์โฮมสไตล์ยูโรเปียน คลาสสิก และทาวน์โฮมที่มีการตกแต่งสไตล์ปารีเซียง

  • กันสาดโครงเหล็ก

กันสาดโครงเหล็ก เป็นโครงสร้างกันสาดที่ได้รับความนิยมอย่างมาก มีความทันสมัย เข้ากับทาวน์โฮมสไตล์โมเดิร์นได้อย่างลงตัวโดยที่ไม่ต้องลงทุนตกแต่งบ้านด้วยเฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ มากเกินความจำเป็น ทั้งยังมีความแข็งแรง ทนทาน และมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

นอกจากนี้ กันสาดโครงเหล็ก ยังตอบโจทย์สายคุมโทนบ้านที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด เพื่อให้ทุกอณูของบ้านทาวน์โฮมดูสวยงามไปในทิศทางเดียวกัน หากใครที่ชอบให้ภาพรวมของบ้านดูโมเดิร์น แต่แฝงไปด้วยความเท่ ลองเลือกใช้กันสาดที่ทำจากเหล็กพ่นสีดำ เพียงเท่านี้บ้านของคุณก็จะดูเรียบหรู เหมือนกับบ้านตัวอย่างแล้ว

  • กันสาดไม้ระแนง

หากใครท่ีชอบให้บ้านมีแสงแดดเล็ดลอดเข้ามาอย่างสวยงาม และต้องการช่องลม เพื่อระบายอากาศได้ตลอดทั้งวัน แนะนำให้ติดตั้งกันสาดไม้ระแนง ซึ่งกันสาดประเภทนี้จะช่วยสร้างบรรยากาศที่ร่มรื่น ไม่มืดทึบอึดอัด พร้อมทั้งให้ความรู้สึกที่อยู่ใกล้ชิดกับธรรมชาติ ตอบโจทย์บ้านทาวน์โฮมสไตล์โมเดิร์น มินิมอล มูจิ และคันทรี

อย่างไรก็ตาม ควรติดตั้งไม้ระแนงคู่กับกระจกกันแสง หรือแผ่นโปร่งแสงที่ช่วยกันร้อน แต่ยังรับแสงธรรมชาติในตอนกลางวันได้เป็นอย่างดี เพื่อให้พื้นที่ใต้หลังคาไม่มืดทึบจนเกินไป และป้องกันไม่ให้ข้าวของเครื่องใช้ในบ้านโดนรังสี UV โดยตรง

  • กันสาดกระจก

แม้ว่ากันสาดกระจกจะช่วยบังแดดได้ไม่ดีมาก แต่หากเลือกกันสาดที่มีคุณสมบัติป้องกันความร้อน สะท้อนรังสี UV ได้ดี ก็ถือว่าช่วยกันความร้อนจากแสงแดดได้ดีไม่น้อย แถมยังทำให้บริเวณนอกบ้านดูสวยเก๋ เพิ่มมุมพักผ่อนหน้าบ้านได้ง่าย ๆ เหมาะกับบ้านทาวน์โฮมสไตล์โมเดิร์นอย่างยิ่ง

  • กันสาดสเตนเลส

หลังคากันสาดแบบสเตนเลส เป็นกันสาดที่นิยมใช้ภายในบ้านจัดสรรในหมู่บ้านเก่า รวมถึงบ้านทาวน์โฮมสไตล์คอนเทมโพรารีอย่างยิ่ง ซึ่งข้อดีของกันสาดประเภทนี้ คือ โครงสร้างแข็งแรง แต่สามารถดัดให้เป็นรูปทรงที่ต้องการได้ ทั้งนี้ หากเลือกใช้สเตนเลสเกรดดี ก็จะช่วยป้องกันการเกิดสนิม เพิ่มความแข็งแรง และยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานมากยิ่งขึ้น 

5 จุดติดตั้งกันสาดหน้าบ้าน เติมเต็มสภาพแวดล้อมที่ดี

กันสาดหน้าบ้าน เป็นส่วนต่อเติมสำคัญที่บ้านในเมืองไทยจะขาดไปไม่ได้ เพราะกันสาดมีส่วนช่วยในการป้องกันแสงแดด รังสี UV ละอองฝน และมลภาวะต่าง ๆ ที่อาจทำให้ภาพรวมของบ้านดูทรุดโทรม และเสื่อมสภาพไวกว่าปกติ เพื่อดูแลให้บ้านทาวน์โฮมของคุณดูสวยงามอยู่เสมอ D-Lite จะมาแนะนำจุดติดตั้งกันสาดยอดนิยม ที่เจ้าของบ้านมือใหม่ทุกคนควรรู้ก่อนตัดสินใจต่อเติมบ้าน โดยจุดติดตั้งที่แนะนำมีดังนี้

  1. โรงจอดรถ

ตำแหน่งยอดฮิตที่นิยมติดตั้งกันสาด ได้แก่ โรงจอดรถ เนื่องจาก กันสาดมีคุณสมบัติช่วยให้ป้องกันไม่ให้รถยนต์โดนแสงแดดในเวลากลางวัน และช่วยถนอมอายุการใช้งานของยางรถยนต์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งยังช่วยเพิ่มพื้นที่จอดรถในร่มได้ง่าย ๆ หมดกังวลเรื่องปัญหาจอดรถขวางหน้าบ้านของเพื่อนบ้าน

อ่านเพิ่มเติม 3 ข้อควรรู้ ก่อนต่อเติมกันสาดลานจอดรถ

  1. หน้าประตูทางเข้าบ้าน

หน้าบ้าน เป็นอีกตำแหน่งที่ทุกบ้านนิยมติดตั้งกันสาด เนื่องจาก บริเวณหน้าบ้านเป็นส่วนที่แสงแดดส่องเข้าตัวบ้านได้โดยตรง ดังนั้น การต่อเติมกันสาดจะช่วยให้พื้นที่หน้าบ้านสวยงาม และเพิ่มความร่มรื่นให้ผู้อยู่อาศัยสามารถใช้ชีวิตอยู่ได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้สึกร้อน หรือถูกฝนสาด 

นอกจากนี้ การติดตั้งกันสาดบริเวณหน้าประตูทางเข้าบ้าน จะช่วยยืดอายุข้าวของเครื่องใช้ในครัวเรือนได้เป็นอย่างดี รวมถึงปกป้องวัสดุต่อเติมในบ้านไม่ให้ผุกร่อน และเสียหายจากแสงแดด ฝน ฝุ่นละออง และสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น ประตู มุ้งลวด ผ้าม่าน และหน้าต่าง เป็นต้น

  1. ข้างบ้านฝั่งที่ได้รับแดดช่วงบ้าน

บริเวณข้างบ้าน นอกจากจะเป็นตำแหน่งที่นิยมติดกันสาดเพื่อป้องกันไม่ให้แสงแดดเล็ดลอดเข้ามาในบ้านแล้ว ยังช่วยเพิ่มพื้นที่ทำกิจกรรมให้กับคนในครอบครัวมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็น มุมปลูกต้นไม้ พื้นที่จิบกาแฟยามเช้า มุมอ่านหนังสือ และมุมนั่งเล่นพูดคุยกับสมาชิกในครอบครัว เป็นต้น

  1. หลังบ้าน

บริเวณหลังบ้าน เป็นอีกหนึ่งจุดหลัก ๆ ของบ้านที่ควรติดตั้งกันสาด เพื่อเพิ่มพื้นที่ทำครัวไทย และพื้นที่ซักล้างได้โดยไม่ต้องกังวลว่าฝนจะตกลงมาใส่เครื่องใช้ไฟฟ้าหรือไม่ เพราะกันสาดมีคุณสมบัติในการป้องกันแสงแดด ละอองฝน และป้องกันการเกิดเชื้อรา จากการอับชื้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

ที่สำคัญ ยังช่วยให้คุณประหยัดไฟฟ้าในเวลากลางวันได้ดีอีกด้วย ตอบโจทย์บ้านทาวน์โฮมที่มีพื้นที่ใช้สอยในบ้านน้อย แต่ยังต้องการต่อเติมพื้นที่ในราคาสบายกระเป๋า

  1. ระเบียง

ระเบียง เป็นอีกมุมหนึ่งที่ได้รับความนิยมในการติดตั้งกันสาดไม่น้อยกว่าบริเวณอื่น เพราะการมีพื้นที่ใช้สอยบริเวณระเบียงที่ร่มรื่นตลอดทั้งวัน จะช่วยเพิ่มพื้นที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้อย่างหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น พื้นที่นั่งเล่น พื้นที่รับประทานอาหารมื้อเย็น มุมอ่านหนังสือ และมุมจัดสวนขนาดเล็ก เป็นต้น

สุดท้ายนี้หวังว่าทุกคนจะได้ไอเดียในการติดตั้งกันสาดหน้าบ้านประเภทต่าง ๆ ให้เหมาะกับบ้านทาวน์โฮมของคุณ เพื่อเติมแสงธรรมชาติให้เข้าสู่ตัวบ้านอย่างลงตัว โดยที่ผู้อยู่อาศัยไม่รู้สึกร้อนอบอ้าวจนเกินไป ทั้งนี้ หากใครที่สนใจ และกำลังวางแผนต่อเติมบ้าน สามารถเลือกกันสาด ดีไลท์ ไปต่อเติมบ้านทาวน์โฮมของคุณได้ หากต้องการสอบถาม หรือสั่งซื้อ ติดต่อเราได้ที่ Line: @kansaddlite หรือ โทร 085-155-6532, 02-312-4949

Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.