เปรียบเทียบกันสาดแบบต่างๆ เลือกสไตล์ที่เหมาะให้กับบ้าน

กันสาดแบบต่างๆ

บ้าน ถือเป็นสมบัติที่หลายคนภาคภูมิใจ เพราะกว่าที่จะได้ที่อยู่อาศัยสักแห่งมาครอบครอง เจ้าของบ้านต้องผ่านกระบวนการมากมาย รวมถึงต้องลงทุนเงินก้อนใหญ่ เพื่อให้อาศัยอยู่ในบ้านที่ซื้อได้อย่างยาวนาน ดังนั้น การที่จะต่อเติมบ้านแต่ละครั้ง ทำให้หลายคนต้องคิดแล้วคิดอีก และพิจารณาปัจจัยรอบด้านอย่างถี่ถ้วน เพราะถือเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินก้อน และการใช้ประโยชน์ระยะยาวด้วยเช่นกัน

ดังนั้น ในวันนี้ D-Lite จึงขออาสาพาเจ้าของบ้านทุกคนไปทัวร์ข้อมูลเกี่ยวกับการต่อเติมกันสาดให้กับบ้านเพื่อการลงทุนที่คุ้มค่า ว่าจะมีโครงสร้างกันสาดแบบต่างๆ ที่เหมาะกับบ้านของคุณบ้าง และหากติดตั้งกันสาดไปแล้ว ออกมาไม่ใช้รูปลักษณ์อย่างที่หวัง จะมีวิธีตกแต่งกันสาดอย่างไรให้น่ามอง พร้อมทั้งช่วยปรับทัศนียภาพของบ้านให้ดูดีในภาพรวม ไปติดตามอ่านกันได้เลย

โครงสร้างกันสาดแบบต่างๆ เหมาะกับบ้านของเราหรือไม่

เนื่องจาก บ้านแต่ละหลังไม่ได้ถูกออกแบบมาให้มีโครงสร้างที่รับน้ำหนักได้เท่ากัน เพราะฉะนั้น กันสาดติดตั้งที่ตัวบ้านต้องสำรวจให้ละเอียดก่อน ว่าโครงสร้างบ้านที่เราอาศัยอยู่สามารถรองรับการต่อเติมได้มากน้อยแค่ไหน ตัวอย่างเช่น หากต้องทำกันสาดติดตั้งด้วยวัสดุที่มีน้ำหนักมาก ก็จำเป็นต้องมีเสาค้ำ และเหมาะกับบ้านที่มีพื้นที่กว้างขวางมากกว่า เป็นต้น

  • โครงกันสาดแบบมีเสา

โครงกันสาดแบบมีเสา เป็นโครงสร้างพื้นฐานที่หลายคนนิยมติดตั้ง เนื่องจาก มีความแข็งแรงทนทาน ความมั่นคงสูง และมีเสาช่วยรับน้ำหนักของกันสาดไว้ จึงสามารถเลือกกันสาดที่น้ำหนักมากได้ ดังนั้น อาจจะเหมาะกับบ้านเดี่ยวที่มีพื้นที่ให้ต่อเติมโครงสร้างมากกว่าบ้านประเภทอื่น

  • โครงกันสาดแบบไร้เสา

สำหรับเจ้าของบ้านคนไหนที่ไม่ชอบทำกันสาดแบบมีเสา อาจจะเลือกพิจารณาติดตั้งโครงกันสาดแบบไร้เสา ซึ่งจะเหมาะกับพื้นที่เปิดโล่งขนาดเล็ก โดยโครงกันสาดต้องยื่นออกจากบริเวณที่ติดตั้งไม่เกิน 1.5 เมตร เพื่อไม่ให้ตัวกันสาดรับน้ำหนักมากเกินไป และเกิดการชำรุดเสียหายในภายหลัง ซึ่งโครงสร้างแบบนี้จะเหมาะกับกันสาดประตู หรือหน้าต่างเป็นส่วนใหญ่

  • โครงกันสาดแบบแขนค้ำ

หากต้องการโครงสร้างทำกันสาด ที่สามารถยื่นออกมาจากบริเวณที่ติดตั้งได้มากขึ้น ก็ขอแนะนำโครงกันสาดแบบแขนค้ำ ที่สามารถทำให้กันสาดยื่นออกมาได้ประมาณ 2.5 เมตร เหมาะกับการติดตั้ง เพื่อให้มีพื้นที่เปิดโล่ง อาจเป็นลานซักล้างหลังบ้าน พื้นที่สวนหย่อมเล็ก ๆ ข้างบ้าน หรืออาจเป็นกันสาดสำหรับบังฝน และแสงแดดลอดผ่านเข้าช่องประตู และหน้าต่าง

  • โครงกันสาดแบบแขนรั้ง

โครงกันสาดแบบแขนรั้ง จะมีความแข็งแรงน้อยที่สุด จึงทำให้ติดตั้งได้ในพื้นที่ขนาดเล็กมากเท่านั้น และไม่ควรทำกันสาดยื่นออกมาจากบริเวณที่ติดตั้งเกิน 2.5 เมตร เนื่องจาก โครงกันสาดจะไม่สามารถรับน้ำหนักได้ และอาจทำให้โครงสร้างบ้านร้าว หรือชำรุดเสียหาย

แต่งกันสาดบ้านด้วยอุปกรณ์ต่าง ๆ เพิ่มความสวยงามให้ที่อยู่

การต่อเติมกันสาดที่ไม่ตรงตามภาพที่วาดฝัน เป็นหนึ่งในปัญหาที่เจ้าของบ้านหลายคนต้องพบเจอ แต่ก็ใช่ว่าจะไม่มีวิธีแก้ ในบทความนี้ D-Lite จะมาแนะนำแนวทางในการตกแต่งกันสาด ที่ติดตั้งไปแล้วไม่สวยอย่างใจหวังให้กลับมาดูดี พร้อมปรับทัศนียภาพโดยรวมของบ้านให้น่ามอง จะมีวิธีไหนที่น่าสนใจบ้างนั้น ลองเลื่อนลงไปอ่านแต่ละข้อได้เลย

  • ตกแต่งแปด้วยระแนง

แป ถือเป็นโครงสร้างสำคัญของการทำกันสาด เพราะเป็นตัวรองรับแผ่นกันสาด หากเจ้าของบ้านคนไหนต้องการเพิ่มมิติให้กันสาด ก็สามารถตกแต่งแปด้วยไม้ระแนงได้ จะช่วยให้บ้านเข้ากันได้ดีกับสไตล์มินิมอล หรือมูจิ นอกจากนี้ แปแบบระแนงก็ยังมีส่วนช่วยลดแสงส่องผ่าน จากกันสาดมาที่บริเวณใต้กันสาดได้อีกด้วย หากจะจัดเป็นมุมสำหรับจิบกาแฟยามเช้าก็ได้อารมณ์คาเฟ่สุด ๆ

  • ตกแต่งด้วยซุ้มระแนง

หากบ้านหลังไหนมีพื้นที่จำกัด ต้องทำกันสาดที่มีระยะยื่นไม่มาก ซึ่งการตกแต่งกันสาดด้วยซุ้มระแนง ถือเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยที่ทำให้บ้านดูดีมากยิ่งขึ้น ทั้งยังทำให้บ้านโดดเด่น และสวยงามมากกว่าเดิม รวมไปถึงช่วยลดปริมาณแสงส่องผ่านได้ดี ทำให้ไม่เกิดความร้อนบริเวณที่ติดตั้งกันสาดมากจนเกินไป ถือเป็นอีกแนวทางในการตกแต่งกันสาดที่น่าทำตาม

  • ตกแต่งด้วยระแนงพรางตา

เจ้าของบ้านที่ทำกันสาดบางคน อาจเลือกติดตั้งระแนงแนวดิ่งพรางตา เพื่อป้องกันแสงแดด และความร้อนที่จะสาดส่องเข้าสู่ตัวบ้าน เหมาะอย่างยิ่งสำหรับบ้านที่มีพื้นที่ด้านข้างจำกัด และตั้งอยู่ในบริเวณใกล้กับเพื่อนบ้าน ซึ่งระแนงแบบพรางตา จะช่วยเสริมให้พื้นที่ภายนอกบ้านให้มีความเป็นส่วนตัวมากยิ่งขึ้น

  • ซ่อนรางน้ำฝนด้วยโครงกันสาด

แนวทางตกแต่งกันสาดต่อมา คือ การซ่อนรางน้ำฝนด้วยโครงกันสาดแบบมีเสา อาจเลือกใช้สีทาที่ท่อระบายน้ำให้เป็นสีเดียวกับเสาของกันสาด และติดตั้งในระนาบเดียวกันเพื่อให้ดูกลมกลืน และช่วยสร้างบรรยากาศภาพรวมของตัวบ้านให้ดูดีมากยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการซ่อนรางน้ำฝนแบบเนียน ๆ ที่ไม่ต้องเสียเวลาหาไอเดียจัดการเพิ่มเติมอีกด้วย แต่ต้องศึกษาโครงสร้างบ้านให้ดีก่อน เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในภายหลัง

  • ประดับตกแต่งเสาค้ำกันสาด

บางครั้งโครงกันสาดแบบมีเสา ก็อาจออกแบบมาไม่ถูกใจเจ้าของบ้านเสมอไป หากต้องการให้ Mood & Tone ของบ้านเป็นไปในทิศทางเดียวกัน อาจเลือกตกแต่งเสารองรับกันสาดด้วยสไตล์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็น การเพิ่มเติมลวดลายที่หัวเสา การตกแต่งด้วยไม้ หรือเหล็กเส้น และการใช้เสาก่ออิฐ เป็นต้น ซึ่งการตกแต่งเสารองรับกันสาด จะช่วยให้บ้านดูมีมิติ และสวยงามมากยิ่งขึ้น

อ่านเพิ่มเติม แนะนำ 5 วัสดุทำกันสาดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด

เป็นอย่างไรกันบ้าง กับข้อแนะนำในการเลือกทำกันสาดแบบต่างๆ ที่ D-Lite ได้นำมาฝากกันในวันนี้ หวังว่าจะมีส่วนช่วยให้เจ้าของบ้านหลาย ๆ คนสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น ว่าจะต่อเติมกันสาดแบบไหนให้กับตัวบ้านดี ทั้งนี้หากต้องการข้อมูลหรือปรึกษาเกี่ยวกับการทำกันสาดเพิ่มเติม ก็สามารถติดต่อดีไลท์มาได้ Line: @kansaddlite หรือโทร 085-155-6532, 02-312-4949

Privacy Overview

This website uses cookies so that we can provide you with the best user experience possible. Cookie information is stored in your browser and performs functions such as recognising you when you return to our website and helping our team to understand which sections of the website you find most interesting and useful.